Welcome to my blog, hope you enjoy reading :)
RSS

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ตำนานภูกระดึง ๒






กระทิงเปลี่ยวเลี้ยวย่านผ่านเนินเขา
พรานหน้าเศร้าเฝ้าตามสามภูผา
มาประจบพบสนสานตะการตา
ต้องครั้นคราสัตว์ใหญ่น้อยนับร้อยพัน
ทั้งเก้งกลิ้งกระทิงใหญ่ทั่วไพรพฤกษ์
หมูป่าคึกกระโดดโลดโผนผัน
ทุ่งหลังแปภูกระดึงถูกโจษจัน
ผ่านคืนวันเป็นตำนานเล่าขานมา
Wild gaur turn over hill district.
Woodsman haggard look as the third mountain.
To find the string continue courting the eye Ota.
But most animals have less occasion hundreds of thousands.
Barking deer and gaur rolling around private.
Boar impulsively jump riveting diversion.
Tung been rumor after Japan.
Through the night on the legendary relate to
ประพันธ์โดย ยางโทน(นายสบาย) จากเว็บ sabuy.com

ตำนานภูกระดึง เริ่มแรกเราต้องมาแยกคำกันก่อนครับภูกระดึงเกิดจาก "ภู" + "กระดึง" คำว่าภูหมายถึงภูเขาสูง ส่วนคำว่ากระดึง หากพิจารณาแบบรวบรัดแบบไม่มีข้อมูลตำนาน ก็จะบอกไปว่ากระดึงที่ผูกคอวัวบ้าง เสียงกระดึงวัวบ้าง


สำหรับคนกรุงเทพฯที่ไม่รู้จักบ้านนอกดีพอ ขอเสริมว่า ไอ้เจ้า "กระดึง" ที่ว่านี้หมายถึง อุปกรณ์พื้นบ้านชนิดหนึ่งทำจากไม้หรือโลหะเอาไว้ผูกคอวัว หรือควายให้มีเสียงดังเวลาเดินนั่นเอง
ตามตำนานจริงๆ เล่าขานนานหลายชั่วคน บ้างก็ว่า เกิดจากมีชาวบ้านละแวกภูแห่งนี้ ยามที่ฟ้าใสแดดดี ไม่มีเมฆฝน จะแว่วได้ยินเสียงกระดิ่งมาจากภูสูงแห่งนี้ จึงเรียงกันว่า "ภูกระดิ่ง" บ้างก็ว่ามีเสียงกระดิ่ง เสียงระฆัง เหมือนราวกับวันพระวันโกน หรือว่ามีวัดมีโบสถ์ตั้งอยู่บนยอดเขากันแน่
ต่อมาก็คงพอจะเดากันออก เห็นตำนานเก่าแทบทุกเรื่องมักยกอ่าวว่าเสียงเพี้ยนไป นายสบายขอยกตัวอย่าง ขนาดคำว่า "บ้านมังกร" ยังเพี้ยนเป็น "บางประกง" ได้เลย นับประสาอะไรที่ "ภูกระดิ่ง" นานวันก็เพี้ยนเป็น "ภูกระดึง" ในที่สุดครับ
แล้วใครเป็นคนแรกกันล่ะที่ได้ขึ้นภูกระดึง ว่ากันว่า เพิ่งขึ้นกันไม่กี่ร้อยปีนี่เอง ซึ่งก็น่าจะจริง เพราะที่นี่ต่างจากภูอื่น ๆ ในภาคอีสาน อย่างเช่น ภูพระบาท(อุดร) หรือ ภูเวียง(ขอนแก่น) ที่มีร่องรอยอารยธรรมโบราณ แต่ที่ภูกระดึงนี่จุดที่มีภาพเขียนสีฝ่ามือแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นที่เชิงภู บริเวณใกล้เคียงกับบ้านนาน้อย ใต้ผาหมากดูก และผาเมษาเท่านั้น
เรื่องเล่าภูกระดึงยังมีต่ออีกนิดนึงครับ ไปค้นประวัติภูกระดึงมากี่เล่ม ๆ ก็เจอตรงกัน ว่ากันว่ากาลละครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีนายพรานหาญกล้าผู้หนึ่ง จากละแวกบ้านศรีฐาน ที่เชิงภูนี่ล่ะ ได้เดินทางตามล่า แกะรอยกระทิงโทน ขึ้นสูงเรื่อย ๆ ไปบนยอดภูสูง ติดตามไปอย่างกระชั้นชิด สิ่งที่นายพรานป่ารายนั้นได้พบ และต้องตะลึงงงด้วยความมหัศจรรย์คือ บนยอดเขาที่ราบเรียบกว้างใหญ่แห่งนี้ ประกอบไปด้วย ทุ่งหญ้า ป่าสน ธารน้ำไหลริน ผืนป่าและอากาศสดใสเย็นสบายผิดจากเบื้องล่าง
นอกจากนี้ยังมี สัตว์ป่านานาชนิด เช่น ฝูงกระทิง กวาง เก้ง หมูป่า และสัตว์อื่นๆ หากินเป็นฝูงๆ มากมาย ที่สำคัญ สัตว์พวกนี้ ไม่กลัวคนแต่อย่างไร อันเนื่องจากจาก ไม่เคยเห็นคนมาก่อน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้ภูกระดึงที่เคยถูกปิดบังไว้ กลับถูกเปิดเผยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ
สวนสวรรค์บนดินที่ถูกค้นพบโดยพรานป่านี้ ได้เลื่องลือกันไปทั่ว หากแต่สมัยก่อนการสื่อสารยังจำกัด การคมนาคมยังลำบาก จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม สมุหเทศาภิบาล ซึ่งดูแลหัวเมืองฝั่งอีสานได้รับรายงานเรื่องนี้ และส่งเข้าส่วนกลางที่มหาดไทย
หลังจากนั้นเวลาล่วงเลยมาอีก ยังไม่มีการดำเนินการอย่างไรกับภูกระดึง เพราะการคมนาคมห่างไกล สมัยนั้น รถไฟมีถึงแค่โคราช ป่าดงพญาไฟ ยังร้อนแรงด้วยไข้ป่า ข้างสายเหนือรถไฟที่ขึ้นลำปางและเชียงใหม่จอดสถานีที่ใกล้ที่สุดแค่ตะพานหิน ในจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ยังเป็นดงดิบ ที่จะเข้าถึงได้ก็ต้องล่องเรือผ่านลำน้ำป่าสัก เส้นทางถนนช่องสาริกา ลำนารายณ์ ขึ้นหล่มเก่า ยังไม่มีจนกว่าจะถึงสงครามโลก
มีเพียงชาวบ้านและข้าราชการละแวกนั้น นำโดยหลวงวิจิตรคุณสาร นายอำเภอวังสะพุงในขณะนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างองค์พระพุทธรูปขึ้นบนลานหินกลางทุ่งกว้างป่าสนบนยอดภูเมื่อปี 2463 แรกเริ่มเดิมทีองค์พระที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านหลายตำบลนี้ยังไม่มีชื่อ แต่ต่อมาในปี 2526 สมเด็จพระศรีณครินทราบรมราชชนนีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บูรณะองค์พระและบริเวณลานหินโดยรอบ และพระราชทานนามพระพุทธรูปนี้ว่า "พระพุทธเมตตา"
ที่น่าสนใจก็คือ บริเวณลานพระแห่งนี้ จะมีการประดับโดยรอบด้วยกระดิ่งเล็ก ๆ และระฆังใบเขื่องหลายใบ เพื่อให้เข้ากับตำนานและความเชื่อดั้งเดิม สายลมพัดที่โชยผ่านป่าสนมาตามลานหินกว้างจะขยับกระดิ่งใบเล็กนับสิบใบให้เกิดเสียงกรุ๋งกริ๋ง เป็นระยะ นาน ๆ จะแว่วเสียงระฆังของนักเดินทางย่ำระฆัง
ชื่อ "พระพุทธเมตตา" นั้น เมตตาสมชื่อ บ่อยครั้งในความรู้สึกที่นักท่องเที่ยวที่ไปชมพระอาทิตย์ตกดินที่ผาหล่มสักจะเดินตัดทุ่งผ่านสระแก้วกลางความมืด เพื่อมุ่งหน้าสู่ศูนย์วังกวาง ด้วยฝีเท้าที่เหนื่อยล้า ท้องหิว อากาศเย็น แสงดาวเกลื่อนฟ้า เดินดุ่มไปเรื่อยอย่างไม่รู้จบ
ท่ามกลางความสิ้นหวัง สิ้นแรง เสียงกระดิ่ง หรือระฆังที่ดังแว่วฝ่าความมืดเบื้องหน้าจะเป็น กำลังใจให้รุดหน้าต่อเพราะหมายความว่า อีกไม่ไกลก้าวนักจะถึงองค์พระพุทธเมตตา ซึ่งเป็นหลักหมายสำคัญของการเดินทางก่อนสู่ศูนย์วังกวางซึ่งเป็นที่พัก
หลายคนที่เหนื่อยมาตลอดทาง ก็แวะไหว้องค์พระเพื่อความเป็นศิริมงคล บ้างก็ย่ำระฆังด้วยความดีใจ สำหรับนักเดินทางบางคนที่สังขารไม่ไหวจริง ๆ การที่ได้ฟันฝ่ามาเจอองค์พระพุทธเมตตานี้เปรียบได้กับการ "รอดตาย" เลยทีเดียว
ไม่เชื่อรึ ก็ลองเดินไปผาหล่มสักดู หุ ๆ
ย้อนกลับไปเมื่อ วันที่ 19 พ.ย. 2486 ได้มีการประกาศให้ภูกระดึงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และมีการเตรียมการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ แต่งบประมาณจำกัด ขาดแคลนอัตรากำลังพล ทำให้เวลาล่วงเลยมาจนปี 2505 จึงประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติสำเร็จ กินพื้นที่ 217,581.25 ไร่ หรือ 848.13 จัดว่าเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สองของไทยรองจาก "เขาใหญ่"

อ้างอิง จาก http://student.nu.ac.th/golf_47191614/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น