Welcome to my blog, hope you enjoy reading :)
RSS

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ตำนานภูกระดึงมีหลายเว็บไซต์

ประวัติภูกระดึง ความเป็นมา และตำนาน



ประวัติภูกระดึง ความเป็นมา และตำนาน




อ่าน ประวัติภูกระดึง ก่อนจะไปเที่ยวภูกระดึง จะทำให้เรารู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ในแต่ละจุดที่เราผ่านไป และเที่ยวได้อย่างสนุก บางคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าครั้งหนึ่ง ภูกระดึงเคยจมอยู่ใต้ทะเลมาก่อน ดังจะเห็นได้จากการที่มีการค้นพบซากฟอสซิวต่างๆและลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่บ่งบอกได้ เอาล่ะ มาดูกันว่า ประวัติภูกระดึง และการค้นพบ มีที่มาที่ไปอย่างไร
ประวัติภูกระดึง
ตามตำนานภูกระดึงนั้น มีเรื่องเล่าว่า มีพรานผู้หนึ่งตามล่ากระทิงโทน ขึ้นไปจนถึงบนยอดเขาลูกหนึ่งในเขตตำบลศรีฐาน ได้พบพื้นที่บนยอดเขาราบเรียบและกว้างใหญ่มากเป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าสน มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเป็นระเบียบ และยังเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า ฝูงกระทิง เก้ง กวาง ซึ่งหากินอยู่เป็นฝูง ๆ ไม่ตระหนกตื่นกลัวนายพราน เนื่องจากไม่เคยเห็นคนมาก่อน นับจากนั้นมา ภูกระดึงก็เริ่มเปิดตัวเองสู่สายตาชาวโลก
ภูกระดึงซึ่งธรรมชาติได้ปิดซ่อนเร้นมานานก็ถูกเปิดเผยให้มนุษย์รู้จักแต่นั้นมาจากการเล่าลือกันมาแต่โบราณว่า มีผู้ได้ยินเสียงระฆังของพระอินทร์ที่อยู่บนเขานี้ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า ภูกระดึง หรือ ภูกะดึง เพราะคำว่า “ภู” หมายถึง ภูเขา และ “กระดึง” มาจาก “กระดิ่ง” ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยแปลว่า “ระฆังใหญ่”นอกจากนี้เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาบางส่วนหากเดินหนักๆ หรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆัง ซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับขนานนามว่า “ภูกระดึง”
ภูกระดึง เป็นที่รู้จักกันมานาน ตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 สมุหเทศาภิบาล (พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม)ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย และต่อมาในปี พ.ศ.2463 นายอำเภอวังสะพุง ซึ่งปกครองท้องที่เขตภูกระดึงในขณะนั้นได้ขึ้นไป สร้างพระพุทธรูปไว้บนยอดภูกระดึงองค์หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติและกรมป่าไม้ เริ่มดำเนินการสำรวจ เพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่จึงให้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
มารู้จักกับอุทยานแห่งชาติ ภูกระดึง
ภูกระดึง นับเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นภูเขาหินทรายยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยว ปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต
เวลาเปิด-ปิด ภูกระดึง
สำหรับการเดินทางขึ้นภูกระดึงนั้น ทางอุทยานฯ จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 14.00 น. ของทุกวัน และหลังจากเวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ทางอุทยานฯ จะไม่อนุญาต เพราะระยะทางในการเดินทางขึ้นเขาต้องใช้เวลาในการเดินเท้า ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะตรงกับเวลาพลบค่ำในระหว่างทาง ดังนั้น อาจจะทำให้เกิดความยากลำบาก อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืนอีกด้วย

"ภูกระดึง" ตำนานแห่งภูภาคอีสาน


คำขัวญจังหวัดเลย

เมื่องแห่งทะเลภูเขาสุดหนาวในสยามดอกไม้สามฤดู


When most of the sea, mountains, winter flowers in three seasons Siam.


"ภูกระดึง" ตำนานแห่งภูภาคอีสาน
"ลมที่โชยพัด ต้นหญ้าใบไม้ปลิว แดดที่อ่อนใส หอมกลิ่นของวันใหม่"ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ฤดูหนาว ที่ท้องฟ้าสดใส ลมหนาวโชยมาเบาๆเหมาะแก่การเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวป่าเที่ยวดอยเป็นอย่างยิ่ง
และเมื่อพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวยามหน้าหนาวแล้ว "ภูกระดึง"นับเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิต ติดอันดับต้นๆของเมืองไทยที่พอลมหนาวมาเยือนทีไร หนุ่ม-สาวผู้รักการผจญภัยมักจะออกเดินทางขึ้นไปพิชิตยอดภูแห่งนี้
แม้ว่าวันนี้ พ.ศ. นี้ ภูกระดึงจะคลายมนต์ขลังลงไปจากอดีตแต่ว่าเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับตำนานของภูกระดึงก็ยังคงมีเสน่ห์อยู่ไม่รู้คลาย โดยภูกระดึงนั้นเดิมทีเป็นดังดินแดนลึกลับที่ชาวบ้านในอดีตแถวนั้นเล่าขานกันว่าจะได้ยินเสียงระฆังดังแว่วมาจากยอดภูสูงที่ไม่เคยมีใครย่างกรายไปถึงและก็น่าแปลกตรงที่เสียงระฆังจะดังก้องมาให้ได้ยินเฉพาะวันพระหรือวันโกนเท่านั้น!!
ชาวบ้านรอบๆเชิงเขาต่างคิดว่าบนยอดเขานั้นอาจจะมีบ้านเรือนผู้คนหรือวัดอยู่แต่ไม่เคยมีผู้ใดพบเห็นผู้คนจากยอดเขาเลย
ว่ากันว่า เสียงระฆังปริศนาที่ได้ยินกันนั้น ดังมาจาก"หมู่บ้านผีบังบด"เป็นหมู่บ้านลับแลที่ไม่มีเคยมีใครมองเห็นหรือผ่านมาพบเจอได้เลยเมื่อใดที่มีคนเข้ามาใกล้หมู่บ้านแล้วละก็หมู่บ้านทั้งหมู่บ้านจะหายวับไปกับตา กลายเป็นป่าทันที
การที่ได้ยินเสียงระฆังเฉพาะดังเฉพาะวันพระนั้นก็เชื่อกันว่าเป็นเสียงระฆังของพระอินทร์จากสรวงสวรรค์เลยเรียกฐานภูอันเร้นลับนี้ว่า "ภูกระดึง" ซึ่งคำว่า "ภู" หมายถึง ภูเขาและคำว่า "กระดึง" นั้นภาษาพื้นเมืองของ จ.เลยหมายถึงกระดิ่งหรือระฆังใหญ่ รวมแล้ว ภูกระดึง จึงหมายความถึงภูเขาที่มีเสียงระฆังนั่นเอง
แต่ภูเขายอดแห่งนี้ก็ยังเป็นที่เร้นลับสำหรับคนทั่วไปดังเดิม จนกระทั่ง.....
มีนายพรานที่เก่งกาจเรื่องการล่าสัตว์มากคนหนึ่งเดินทางรอนแรมป่ามาเรื่อยๆ จนถึงบริเวณที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์จึงกลับไปอพยพครอบครัวจากนครจำปาศักดิ์ มาตั้งบ้านเรือนบริเวณนี้
ซึ่งปัจจุบันก็คือบ้านผานกเค้าจนวันหนึ่งนายพรานได้ออกล่าสัตว์ตามรอยกระทิงโทรติดต่อกันอยู่หลายวันได้มาถึงยังเชิงเขาแห่งหนึ่ง ร่องรอยของกระทิงยิ่งชัดเจนขึ้นแม้ทางจะยากลำบาก
แต่ภาพที่ได้เห็นตรงหน้าได้สร้างความประหลาดใจเป็นที่สุดเมื่อพบว่ายอดเขาที่ควรจะเป็นทรงแหลมกลับเป็นพื้นที่ราบกว้างใหญ่ไกลสุดตางดงามสวยสะพรั่งไปด้วยป่าไม้นานาพรรณกลางท้องทุ่งกว้างเต็มไปด้วยเหล่าสัตว์หากินกันอย่างอิสระเสรี
นายพรานจึงได้กลับมาเล่าเรื่องราวให้ชาวบ้านฟัง....เมื่อนั้นเรื่องราวของภูกระดึงจึงเปิดเผยจนเป็นที่ร่ำลือในความงามบริสุทธิ์ของยอดเขาแห่งนี้.....นับแต่นั้นมา
และ ในวันนี้...ภูกระดึงเป็นอุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมอย่างสูงและยังเป็นคงเป็นที่ที่ได้รับคำร่ำลือถึงความสวยงามนี้อย่างไม่รู้จบตราบเมื่อที่แห่งนี้ยังมีธรรมชาติที่สมบูรณ์และคนเดินทางยังมีสำนึกต่อธรรมชาติ
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=4689635053872

Dr. A. F. G. Kerr: หมอไอริช - นักพฤกษศาตร์ ผู้พิชิตภูกระดึง โดย ลุงจิ๊บ แห่ง sabuy.com






คุณหมอ Kerr หนึ่งในชาวต่างชาติผู้พิชิตภูกระดึงเป็นพวกแรก
นอกจาก "นายพราน" ตามตำนานเล่าขานที่ตามกระทิงขึ้นภูกระดึงแล้ว หนึ่งในบุคคลกลุ่มแรก ๆ ที่ได้ขึ้นไปสำรวจภูกระดึง(หรือน่าจะเป็นชาวต่างชาติคนแรกด้วยซ้ำ) คือ Dr. A. F. G. Kerr ที่ได้ขึ้นไปสำรวจ และเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้งบนภูกระดึง ในอดีต ซึ่งคงน่าสนใจไม่น้อยเพราะ พืชพันธุ์บนภูมีความแตกต่างจากต้นไม้บนพื้นราบรอบข้างอย่างชัดเจน เพราะเป็นพืชประเภทสน ที่อยู่ในเขตอบอุ่นหรือเมืองหนาว
การสำรวจคราวนั้นจะเป็นเมื่อปีพ.ศ.ใดไม่ทราบชัด แต่ในหนังสือ "ป่าไม้และพรรณพฤกษชาติ ภูกระดึง" ของคุณ ธวัชชัย สันติสุข ผู้อำนวยการส่วนพฤกษศาตร์ป่าไม้ นั้นระบุว่าน่าจะเป็นสมัยก่อนหน้าปี 2463 ก่อนหน้าการสร้างพระพุทธเมตตาบนภูกระดึง เส้นทางที่ใช้ก็ขึ้นจากบริเวณบ้านศรีฐาน
อันที่จริง Dr. A. F. G. Kerr เดิมทีเป็นนายแพทย์ชาวไอร์แลนด์ ที่รับราชการอยู่กับรัฐบาลไทย ต่อมาได้หันความสนใจมาสู่เรื่องพันธุ์พืชในประเทศไทย และหันมารับราชการเป็นนักพฤกษศาตร์ จนเป็นหัวหน้ากองตรวจพันธุ์รุกขชาติ กระทรวงพาณิชย์(ในสมัยนั้นสังกัดกระทรวงพาณิชย์)
จากการค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต ทีมสบายได้พบว่า คุณหมอท่านนี้ ยังเป็นนักพฤกษศาตร์คนสำคัญของประเทศไทย และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้เก็บตัวอย่างพืชพันธุ์กว่า 2 หมื่นชนิดในไทย ในระหว่างการทำงานในช่วงปี 1902- 1932
ตัวอย่างความสำคัญของคุณหมอจะเห็นได้จาก พันธ์ไม้ตระกูลบัวผุด (Raffiesia) ที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นพันธ์ของโลก ในปี พ.ศ.2527 ว่า Raffiesia Kerrti Meijer โดย Dr.M.Meijer จากมหาวิทยาลัย Kentucky ประเทศอเมริกา โดยตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr.A.F.G.Kerr นายแพทย์ไอริช ผู้สำรวจพันธ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472
คุณหมอ Kerr หนึ่งในชาวต่างชาติผู้พิชิตภูกระดึงเป็นพวกแรก ภาพจากเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษของกรมป่าไม้

ตำนานภูกระดึง ๒






กระทิงเปลี่ยวเลี้ยวย่านผ่านเนินเขา
พรานหน้าเศร้าเฝ้าตามสามภูผา
มาประจบพบสนสานตะการตา
ต้องครั้นคราสัตว์ใหญ่น้อยนับร้อยพัน
ทั้งเก้งกลิ้งกระทิงใหญ่ทั่วไพรพฤกษ์
หมูป่าคึกกระโดดโลดโผนผัน
ทุ่งหลังแปภูกระดึงถูกโจษจัน
ผ่านคืนวันเป็นตำนานเล่าขานมา
Wild gaur turn over hill district.
Woodsman haggard look as the third mountain.
To find the string continue courting the eye Ota.
But most animals have less occasion hundreds of thousands.
Barking deer and gaur rolling around private.
Boar impulsively jump riveting diversion.
Tung been rumor after Japan.
Through the night on the legendary relate to
ประพันธ์โดย ยางโทน(นายสบาย) จากเว็บ sabuy.com

ตำนานภูกระดึง เริ่มแรกเราต้องมาแยกคำกันก่อนครับภูกระดึงเกิดจาก "ภู" + "กระดึง" คำว่าภูหมายถึงภูเขาสูง ส่วนคำว่ากระดึง หากพิจารณาแบบรวบรัดแบบไม่มีข้อมูลตำนาน ก็จะบอกไปว่ากระดึงที่ผูกคอวัวบ้าง เสียงกระดึงวัวบ้าง


สำหรับคนกรุงเทพฯที่ไม่รู้จักบ้านนอกดีพอ ขอเสริมว่า ไอ้เจ้า "กระดึง" ที่ว่านี้หมายถึง อุปกรณ์พื้นบ้านชนิดหนึ่งทำจากไม้หรือโลหะเอาไว้ผูกคอวัว หรือควายให้มีเสียงดังเวลาเดินนั่นเอง
ตามตำนานจริงๆ เล่าขานนานหลายชั่วคน บ้างก็ว่า เกิดจากมีชาวบ้านละแวกภูแห่งนี้ ยามที่ฟ้าใสแดดดี ไม่มีเมฆฝน จะแว่วได้ยินเสียงกระดิ่งมาจากภูสูงแห่งนี้ จึงเรียงกันว่า "ภูกระดิ่ง" บ้างก็ว่ามีเสียงกระดิ่ง เสียงระฆัง เหมือนราวกับวันพระวันโกน หรือว่ามีวัดมีโบสถ์ตั้งอยู่บนยอดเขากันแน่
ต่อมาก็คงพอจะเดากันออก เห็นตำนานเก่าแทบทุกเรื่องมักยกอ่าวว่าเสียงเพี้ยนไป นายสบายขอยกตัวอย่าง ขนาดคำว่า "บ้านมังกร" ยังเพี้ยนเป็น "บางประกง" ได้เลย นับประสาอะไรที่ "ภูกระดิ่ง" นานวันก็เพี้ยนเป็น "ภูกระดึง" ในที่สุดครับ
แล้วใครเป็นคนแรกกันล่ะที่ได้ขึ้นภูกระดึง ว่ากันว่า เพิ่งขึ้นกันไม่กี่ร้อยปีนี่เอง ซึ่งก็น่าจะจริง เพราะที่นี่ต่างจากภูอื่น ๆ ในภาคอีสาน อย่างเช่น ภูพระบาท(อุดร) หรือ ภูเวียง(ขอนแก่น) ที่มีร่องรอยอารยธรรมโบราณ แต่ที่ภูกระดึงนี่จุดที่มีภาพเขียนสีฝ่ามือแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นที่เชิงภู บริเวณใกล้เคียงกับบ้านนาน้อย ใต้ผาหมากดูก และผาเมษาเท่านั้น
เรื่องเล่าภูกระดึงยังมีต่ออีกนิดนึงครับ ไปค้นประวัติภูกระดึงมากี่เล่ม ๆ ก็เจอตรงกัน ว่ากันว่ากาลละครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีนายพรานหาญกล้าผู้หนึ่ง จากละแวกบ้านศรีฐาน ที่เชิงภูนี่ล่ะ ได้เดินทางตามล่า แกะรอยกระทิงโทน ขึ้นสูงเรื่อย ๆ ไปบนยอดภูสูง ติดตามไปอย่างกระชั้นชิด สิ่งที่นายพรานป่ารายนั้นได้พบ และต้องตะลึงงงด้วยความมหัศจรรย์คือ บนยอดเขาที่ราบเรียบกว้างใหญ่แห่งนี้ ประกอบไปด้วย ทุ่งหญ้า ป่าสน ธารน้ำไหลริน ผืนป่าและอากาศสดใสเย็นสบายผิดจากเบื้องล่าง
นอกจากนี้ยังมี สัตว์ป่านานาชนิด เช่น ฝูงกระทิง กวาง เก้ง หมูป่า และสัตว์อื่นๆ หากินเป็นฝูงๆ มากมาย ที่สำคัญ สัตว์พวกนี้ ไม่กลัวคนแต่อย่างไร อันเนื่องจากจาก ไม่เคยเห็นคนมาก่อน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้ภูกระดึงที่เคยถูกปิดบังไว้ กลับถูกเปิดเผยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาครับ
สวนสวรรค์บนดินที่ถูกค้นพบโดยพรานป่านี้ ได้เลื่องลือกันไปทั่ว หากแต่สมัยก่อนการสื่อสารยังจำกัด การคมนาคมยังลำบาก จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม สมุหเทศาภิบาล ซึ่งดูแลหัวเมืองฝั่งอีสานได้รับรายงานเรื่องนี้ และส่งเข้าส่วนกลางที่มหาดไทย
หลังจากนั้นเวลาล่วงเลยมาอีก ยังไม่มีการดำเนินการอย่างไรกับภูกระดึง เพราะการคมนาคมห่างไกล สมัยนั้น รถไฟมีถึงแค่โคราช ป่าดงพญาไฟ ยังร้อนแรงด้วยไข้ป่า ข้างสายเหนือรถไฟที่ขึ้นลำปางและเชียงใหม่จอดสถานีที่ใกล้ที่สุดแค่ตะพานหิน ในจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ยังเป็นดงดิบ ที่จะเข้าถึงได้ก็ต้องล่องเรือผ่านลำน้ำป่าสัก เส้นทางถนนช่องสาริกา ลำนารายณ์ ขึ้นหล่มเก่า ยังไม่มีจนกว่าจะถึงสงครามโลก
มีเพียงชาวบ้านและข้าราชการละแวกนั้น นำโดยหลวงวิจิตรคุณสาร นายอำเภอวังสะพุงในขณะนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างองค์พระพุทธรูปขึ้นบนลานหินกลางทุ่งกว้างป่าสนบนยอดภูเมื่อปี 2463 แรกเริ่มเดิมทีองค์พระที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านหลายตำบลนี้ยังไม่มีชื่อ แต่ต่อมาในปี 2526 สมเด็จพระศรีณครินทราบรมราชชนนีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บูรณะองค์พระและบริเวณลานหินโดยรอบ และพระราชทานนามพระพุทธรูปนี้ว่า "พระพุทธเมตตา"
ที่น่าสนใจก็คือ บริเวณลานพระแห่งนี้ จะมีการประดับโดยรอบด้วยกระดิ่งเล็ก ๆ และระฆังใบเขื่องหลายใบ เพื่อให้เข้ากับตำนานและความเชื่อดั้งเดิม สายลมพัดที่โชยผ่านป่าสนมาตามลานหินกว้างจะขยับกระดิ่งใบเล็กนับสิบใบให้เกิดเสียงกรุ๋งกริ๋ง เป็นระยะ นาน ๆ จะแว่วเสียงระฆังของนักเดินทางย่ำระฆัง
ชื่อ "พระพุทธเมตตา" นั้น เมตตาสมชื่อ บ่อยครั้งในความรู้สึกที่นักท่องเที่ยวที่ไปชมพระอาทิตย์ตกดินที่ผาหล่มสักจะเดินตัดทุ่งผ่านสระแก้วกลางความมืด เพื่อมุ่งหน้าสู่ศูนย์วังกวาง ด้วยฝีเท้าที่เหนื่อยล้า ท้องหิว อากาศเย็น แสงดาวเกลื่อนฟ้า เดินดุ่มไปเรื่อยอย่างไม่รู้จบ
ท่ามกลางความสิ้นหวัง สิ้นแรง เสียงกระดิ่ง หรือระฆังที่ดังแว่วฝ่าความมืดเบื้องหน้าจะเป็น กำลังใจให้รุดหน้าต่อเพราะหมายความว่า อีกไม่ไกลก้าวนักจะถึงองค์พระพุทธเมตตา ซึ่งเป็นหลักหมายสำคัญของการเดินทางก่อนสู่ศูนย์วังกวางซึ่งเป็นที่พัก
หลายคนที่เหนื่อยมาตลอดทาง ก็แวะไหว้องค์พระเพื่อความเป็นศิริมงคล บ้างก็ย่ำระฆังด้วยความดีใจ สำหรับนักเดินทางบางคนที่สังขารไม่ไหวจริง ๆ การที่ได้ฟันฝ่ามาเจอองค์พระพุทธเมตตานี้เปรียบได้กับการ "รอดตาย" เลยทีเดียว
ไม่เชื่อรึ ก็ลองเดินไปผาหล่มสักดู หุ ๆ
ย้อนกลับไปเมื่อ วันที่ 19 พ.ย. 2486 ได้มีการประกาศให้ภูกระดึงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และมีการเตรียมการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ แต่งบประมาณจำกัด ขาดแคลนอัตรากำลังพล ทำให้เวลาล่วงเลยมาจนปี 2505 จึงประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติสำเร็จ กินพื้นที่ 217,581.25 ไร่ หรือ 848.13 จัดว่าเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่สองของไทยรองจาก "เขาใหญ่"

อ้างอิง จาก http://student.nu.ac.th/golf_47191614/

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติภูกระดึง


ประวัติภูกระดึง ความเป็นมา และตำนาน
อ่าน ประวัติภูกระดึง ก่อนจะไปเที่ยวภูกระดึง จะทำให้เรารู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ในแต่ละจุดที่เราผ่านไป และเที่ยวได้อย่างสนุก บางคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าครั้งหนึ่ง ภูกระดึงเคยจมอยู่ใต้ทะเลมาก่อน ดังจะเห็นได้จากการที่มีการค้นพบซากฟอสซิวต่างๆและลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่บ่งบอกได้ เอาล่ะ มาดูกันว่า ประวัติภูกระดึง และการค้นพบ มีที่มาที่ไปอย่างไร
ประวัติภูกระดึง
ตามตำนานภูกระดึงนั้น มีเรื่องเล่าว่า มีพรานผู้หนึ่งตามล่ากระทิงโทน ขึ้นไปจนถึงบนยอดเขาลูกหนึ่งในเขตตำบลศรีฐาน ได้พบพื้นที่บนยอดเขาราบเรียบและกว้างใหญ่มากเป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าสน มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเป็นระเบียบ และยังเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า ฝูงกระทิง เก้ง กวาง ซึ่งหากินอยู่เป็นฝูง ๆ ไม่ตระหนกตื่นกลัวนายพราน เนื่องจากไม่เคยเห็นคนมาก่อน นับจากนั้นมา ภูกระดึงก็เริ่มเปิดตัวเองสู่สายตาชาวโลก
ภูกระดึงซึ่งธรรมชาติได้ปิดซ่อนเร้นมานานก็ถูกเปิดเผยให้มนุษย์รู้จักแต่นั้นมาจากการเล่าลือกันมาแต่โบราณว่า มีผู้ได้ยินเสียงระฆังของพระอินทร์ที่อยู่บนเขานี้ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า ภูกระดึง หรือ ภูกะดึง เพราะคำว่า “ภู” หมายถึง ภูเขา และ “กระดึง” มาจาก “กระดิ่ง” ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยแปลว่า “ระฆังใหญ่”นอกจากนี้เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาบางส่วนหากเดินหนักๆ หรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆัง ซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับขนานนามว่า “ภูกระดึง”